เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นายศึก ลูกอินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม

Author Avatar

ไพรบึงวิทยาคม

0

Share post:

บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายศึก ลูกอินทร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการรูปแบบการบริหาร
แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียน
เล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ
ผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จา นวน 126 คน ประกอบด้วยผู้อา นวยการสถานศึกษา รองผู้อา นวยการ
สถานศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ผู้ปกครองเครือข่าย 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย บุคลากร
จา นวน 126 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญจา นวน 126 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อา นวยการโรงเรียน
จา นวน 1 คน 2) รองผู้อา นวยการโรงเรียนจา นวน 4 คน 3) ครูใหญ่ในแต่ละระดับชั้น จา นวน 6 คน
3) ครูที่ปรึกษา จา นวน 53 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จา นวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม
และ แบบสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน แบบคัดกรองนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%)
ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
             การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ทีซีเออีอาร์เอ (TCAERA Model) มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คือ การจัดทารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ความสามารถ และทักษะที่สาคัญที่ต้องพัฒนาโดยใช้วิธีการฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติโดยมีผู้บริหารให้คาแนะนาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพในการส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน และสามารถนาไปพัฒนาประกอบการดูแลนักเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อาเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และกระบวนการของรูปแบบมี 6 ขั้นตอนโดยมีการกากับ ติดตาม ( Monitoring ) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การปฏิบัติการวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อันจะส่งผลให้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ทีซีเออีอาร์เอ (TCAERA Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนาเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้
3.1 สมรรถภาพของผู้เรียน หลังการใช้รูปแบบโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กาหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลผู้เรียนเป็นรายด้านโดยเรียงลาดับจากมากไปน้อย
3.2 รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพผู้เรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
3.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กาหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
3.4 สมรรถภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ของครูผู้รับอบรม พบว่า ครูผู้รับกาอบรมมีสมรรถภาพในการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กาหนดไว้
3.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กาหนดไว้

 https://pbk.ac.th/wp-content/uploads/2018/08/บทคัดย่อผอศึก.pdf

 

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คุณครูประกาศิต จินดาศรี
กลุ่มบริหารงานวิชาการ